ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทความ 5 ส.


      คงจะระบุได้ยากว่า แท้ที่จริงแล้ว 5 ส. เริ่มขึ้นครั้งแรกที่ไหนเมื่อไร แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เพราะเรื่องการปลูกฝังระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญเสมอมา ซึ่งจุดเริ่มต้นของ 5 ส. น่าจะมาจากทางตะวันตกก่อน แต่ที่เริ่มนำมาใช้อย่างชัดเจน คือในประเทศญี่ปุ่น โดยชาวญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนและประยุกต์แนวคิดของตะวันตกในเรืองการสร้างระเบียบวินัย และการเพิ่มผลผลิตให้มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะมากยิ่งขึ้น
        การเกิดขึ้นของ 5 ส. ในญี่ปุ่นไม่ได้เกิดเป็น 5 ส. ในรูปแบบที่ชัดเจน แต่พัฒนามาจากแนวคิดในเรื่องการควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) กล่าวคือญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังฝ่ายสัมพันธ์มิตร โดยการนำของสหรัฐอเมริกาที่เข้ายึดครองญี่ปุ่น ได้เรียกร้องให้มีการักษาคุณภาพของชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น เพราะขณะนั้นสินค้าของญี่ปุ่นด้อยคุณภาพมาก จะนำมาประกอบใช้กับอะไรก็มักใช้ไม่ค่อยได้
            จากปัญหาดังกล่าวนี่เอง ทางอเมริกาจึงส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลและให้ความรู้ในเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้าหรือคิวซี ซึ่งต่อมาหลักการที่ทางอเมริกานำมาเผยแพร่นี้เอง ที่กลายมาเป็นพื้นฐานที่ส่งให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของตัวเองทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านบุคคลากรในที่สุด
            การเข้ามาของแนวคิดในเรื่องการควบคุมคุณภาพหรือ QC ในระยะนั้นเป็นของใหม่สำหรับชาวญี่ปุ่น แต่บรรดาบริษัทต่างๆ กลับให้ความสนใจและเรียนรู้อย่างจริงจัง ซึ่งอาจเป็นเพระแนวคิดดังกล่าว สอดคล้องกับอุปนิสัยของคนญี่ปุ่นอยู่แล้ว การใช้ความรู้ดังกล่าวเข้ามาควบคุมคุณภาพสินค้า ไล่ไปตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การวิจัย การผลิต การจำหน่าย และการบริหารได้สร้างประสิทธิภาพให้กับการทำงานและสร้างผลกำไรแก่องค์การได้อย่างเด่นชัด จนในที่สุดญี่ปุ่นได้พัฒนาสิ่งที่รับมาจากคนอื่น ให้กลายเป็น QC ในแบบญี่ปุ่น และกลายเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพที่มีความซับซ้อนไป อาทิ กิจกรรมเพื่อคุณภาพแบบต่อเนื่อง (TQM) ที่มองการพัฒนาคุภาพโดยรวมของการทำงาน
            การทำ 5 ส. ปรากฏให้เห็นในช่วงที่ QC มีการพัฒนารูปแบบ กล่าวคือ หน่วยงานต่างๆ ต้องการแนวทางพื้นฐานที่เป็นเหมือนแรงผลักให้ผู้ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตมากที่สุด โดย QC เป็นหลักการที่มุ่งควบคุมที่ตัววัตถุมากกว่า ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นหลักการง่ายๆ ที่จะสนับสนุนกิจกรรม “รากฐาน” ที่มุ่งไปที่ตัวคนและสภาพแวดล้อม ซึ่งหลักการนั้นก็คือหลัก 5 ส. ที่ทางญี่ปุ่นเรียกว่า 5 S นั่นเอง.

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

กลอนไทย

.


เว๊ปนี้ได้ทำการคัดเลือก กลอน เพราะๆ คำคม และ กลอนกวนๆ กลอนรัก จากเว็บทั่วไป และจากเพื่อน ๆ
Title : …สุข-ทุกข์-ท่วม-รวมใจไทย 
โดย ธรรมดา ประกวดกลอนเดือน พ.ย.54
ท่ามแผ่นผืน คืนวัน สรรค์ชีวิต
เราลิขิต สิทธิ์สู้ สู่จุดหมาย
ต่างเติมฝัน มั่นมุ่ง เสกรุ้งพราย
ต่างปีนป่าย สายสร้าง อย่างเสรี
มีรอยยิ้ม อิ่มอาบ ให้ซาบซึ้ง
ในคำนึง พึ่งพา ภาพวิถี
ยังอบอุ่น หนุนค่า สามัคคี
ทุกถิ่นที่ ทั้งผอง พี่น้องไทย
เช่นนี้เล่า! เก่าก่อน จะร้อนหนาว
ในเรื่องราว ลำเค็ญ เซ่น- สมัย
ป่าปิดเมือง เนืองหนุน สมดุลย์ใด
เหตุปัจจัย ให้ผืนหล้า บ่านที
โอบอุ้ม จะรุมร้าย หมายขย้ำ
โถมกระหน่ำ น้ำหลาก พรากวิถี
พลัดถิ่นฐาน โถมทุกข์ สุขเคยมี
มาบัดนี้ กี่พลีแล้ว ระทมทน
ใยแผ่นดิน ร้องไห้ เป็นสายน้ำ
ย่ำนิยาม สยามยิ้ม ลิ้มรอยหม่น
ขอวิงวอน พรจากฟ้า มาดาลดล
เภทภัยพ้น ผ่านล่วง ทั้งปวงพลัน
เถิด..อย่าท้อ รอจำนน จนใจสู้
อย่าหยุดอยู่ อย่างสิ้นหวัง นั่งหวาดหวั่น
อย่าอ่อนแอ แพ้พ่าย สิ้นสายฝัน
ยังมีวัน วาดฟ้า ดาราพราย
ปลอบโยน ยามยากไร้ ให้แรงหวัง
ให้กำลัง ยังใจอยู่ หารู้หาย
ฝ่าชะตา ท้าทน ที่ทักทาย
ผ่านภัยร้าย ได้ด้วยไทย ไม่ทิ้งกัน
แรงใฝ่ดี ที่เกื้อกูล จะพูนเพิ่ม
มาสร้างเสริม เติมใจ ไร้ขีดขั้น
ร้อยรวมไทย ด้วยหัวใจ ใฝ่ถึงกัน
ร้อยผูกพัน ผ่านลมพา..ว่าห่วงใย




อ่านต่อ: http://www.klonthai.com/#ixzz1izAKMmQW